About

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

bandwidth แบนวิธ คืออะไร

Bandwidth (แบนด์วิดท์) คือ คำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้นแต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมาก ขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณขอมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 100MHz = 800 MB/s
และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s
ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียู ในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย

พูดง่ายๆ bandwidth ก็เหมือนช่องทางบนถนน หากมีช่องทางบนถนน 8 เลน ก็คือมี bandwidth 8 เลนนั้นเอง

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

Baseband คืออะไร broadband คืออะไร

ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband)
จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ อุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบ Baseband รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ(เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน modems และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลักๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B-ISDN ที่เป็นแบบ Broadband

ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ (Broadband)
จะตรงข้ามกับ Baseband นั่นคือ จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ กันโดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น


Baseband เป็นการส่งข้อมูลแบบช่องสัญญา่ณเดียว เป็นสัญญาณ Digital
broadband เป็นการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ เป็นสัญญาณ Analog

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

มอดดูเลชั่น(Modulation) คืออะไร? ดีมอดดูเลชั่น(De Modulation) คืออะไร?

มอดูเลชัน (Modulation)
เนื่องจากข้อมูลที่ประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นดิจิตอล แต่สายสัญญาณที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารตามบ้านทั่วไปเป็นสายโทรศัพท์(สายอนาล็อก) ดังนั้นในการสื่อสารข้อมูลจึงต้องมีการแปลงสัญญาณจากดิจิตอลไปเป็นอนาล็อก และเนื่องจากต้องส่งไปเป็นระยะทางไกลจึงต้องมีการเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณด้วยการแปลงสัญญาณ และเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ ส่วนนี้เราจึงเรียกว่า “มอดูเลชัน (Modulation)”
การมอดูเลชั่น สามารถทำได้โดยการนำข้อมูลมาคูณกับคลื่นพาห์ (Carrier Signal) ซึ่งมีขนาดส่วนสูง(Amplitude) ของสัญญาณ และความถี่ (Frequency) คงที่ ในระดับที่สูงพอต่อการเดินทางแล้วสัญญาณไม่หาย เมื่อสัญญาณที่ส่งออกไปถึงผู้รับแล้ว จะต้องมีการแยกสัญญาณคลื่นพาห์ออกและแปลงข้อมูลกลับไปเป็นข้อมูลดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ วิธีการนี้เรียกว่า “ดีมอดูเลชัน Demodulation)” อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการมอดูเลตและดีมอดูเลตสัญญาณเรียกว่า “Modem (Modulator – DEModulator)

มอดดูเลชั่น(Modulation) คือ "การส่ง" ข้อมูลโดยการเพิ่มพลังงานเข้าไปให้มีการส่งได้ระยะไกลขึ้น
ดีมอดดูเลชั่น(De Modulation) คือ "การรับ" ข้อมูลที่ส่งมาโดยการเอาพลังงานส่วนเกินออกไปเหลือแต่ข้อมูลอย่างเดียว

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

อนาล็อก กับ ดิจิตอล คืออะไร ต่างกันอย่างไร

สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น

สัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน

อนาล็อก กับ ดิจิตอล ต่างกันอย่างไร? อนาล็อก กับ ดิจิตอล มีความแตกต่างกันทางความต่อเนื่องของสัญญาณ และความแม่นยำของสัญญาณ

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ระบบปฏิบัติการ คืออะไร


ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

ระบบปฏิบัติการ ที่เรารู้จักกันทั่วไปก็อย่างเช่น Microsoft windows ,Linux ,Mac OS เป็นต้น

Hardware(ฮาร์ดแวร์) กับ Software(ซอฟแวร์) คืออะไร ต่างกันตรงไหน


ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
3.หน่วยแสดงผล (Output Unit)
4.หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่าง กัน

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

Hardware(ฮาร์ดแวร์) กับ Software(ซอฟแวร์) ต่างกันตรง ที่ว่า
Hardware เป็นอุปกรณ์ต่างๆ
Software เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

Raid คืออะไร เกี่ยวกับ hard disk ใช่ไหม ?


Raid ย่อมาจาก Redundant Array of Inexpensive Disk คือการนำเอา hard disk ตั้งแต่ 2 ลูกขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเสมือนเป็น hard disk ลูกเดียว กลุ่มของ hard disk ที่นำมาทำงานร่วมกันในระบบ Raid จะถูกเรียกว่า disk array โดยที่ระบบปฎิบัตการและ software จะเห็น hard disk เป็นตัวเดียว ซึ่งการทำ Raid นอกจากเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาข้อมูลแล้วยังเป็นการช่วยประหยัดเงินอีกด้วย เพราะยิ่ง hdd มีความจุมากเท่าไหร่ ราคาก็ยิ่งสูงตามไปด้วย

Raid แบ่งออกเป็น

Raid 0 คือการนำ hdd มาต่อกันโดย hdd แต่ละตัวจะเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน
จุดเด่นคือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
จุดด่อยคือ หาก hdd ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ข้อมูลจะเสียหายทันที

Raid 1 คือการนำ hdd 2 ตัวมาต่อกัน และเก็บข้อมูลเหมือนกันทุกประการ
จุดเด่นคือ มีความปลอยภัยสูงมาก
จุดด่ิอยคือ อาจไม่เร็วเหมือน Raid 0 แต่ก็มีความเร็วเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย