About

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

bandwidth แบนวิธ คืออะไร

Bandwidth (แบนด์วิดท์) คือ คำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้นแต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมาก ขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณขอมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 100MHz = 800 MB/s
และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s
ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียู ในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย

พูดง่ายๆ bandwidth ก็เหมือนช่องทางบนถนน หากมีช่องทางบนถนน 8 เลน ก็คือมี bandwidth 8 เลนนั้นเอง

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

Baseband คืออะไร broadband คืออะไร

ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband)
จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ อุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบ Baseband รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ(เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน modems และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลักๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B-ISDN ที่เป็นแบบ Broadband

ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ (Broadband)
จะตรงข้ามกับ Baseband นั่นคือ จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ กันโดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น


Baseband เป็นการส่งข้อมูลแบบช่องสัญญา่ณเดียว เป็นสัญญาณ Digital
broadband เป็นการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ เป็นสัญญาณ Analog

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

มอดดูเลชั่น(Modulation) คืออะไร? ดีมอดดูเลชั่น(De Modulation) คืออะไร?

มอดูเลชัน (Modulation)
เนื่องจากข้อมูลที่ประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นดิจิตอล แต่สายสัญญาณที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารตามบ้านทั่วไปเป็นสายโทรศัพท์(สายอนาล็อก) ดังนั้นในการสื่อสารข้อมูลจึงต้องมีการแปลงสัญญาณจากดิจิตอลไปเป็นอนาล็อก และเนื่องจากต้องส่งไปเป็นระยะทางไกลจึงต้องมีการเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณด้วยการแปลงสัญญาณ และเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ ส่วนนี้เราจึงเรียกว่า “มอดูเลชัน (Modulation)”
การมอดูเลชั่น สามารถทำได้โดยการนำข้อมูลมาคูณกับคลื่นพาห์ (Carrier Signal) ซึ่งมีขนาดส่วนสูง(Amplitude) ของสัญญาณ และความถี่ (Frequency) คงที่ ในระดับที่สูงพอต่อการเดินทางแล้วสัญญาณไม่หาย เมื่อสัญญาณที่ส่งออกไปถึงผู้รับแล้ว จะต้องมีการแยกสัญญาณคลื่นพาห์ออกและแปลงข้อมูลกลับไปเป็นข้อมูลดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ วิธีการนี้เรียกว่า “ดีมอดูเลชัน Demodulation)” อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการมอดูเลตและดีมอดูเลตสัญญาณเรียกว่า “Modem (Modulator – DEModulator)

มอดดูเลชั่น(Modulation) คือ "การส่ง" ข้อมูลโดยการเพิ่มพลังงานเข้าไปให้มีการส่งได้ระยะไกลขึ้น
ดีมอดดูเลชั่น(De Modulation) คือ "การรับ" ข้อมูลที่ส่งมาโดยการเอาพลังงานส่วนเกินออกไปเหลือแต่ข้อมูลอย่างเดียว